วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิมุติรัตนมาลี



โดย พระราชวิสุทธิโสภณ วิลาศ ญาณวโร ป.ธ ๙

Sometime เคยมีหนังสือ วิมุติรัตนมาลี ยาวมากแต่ขายไปแล้วหนังสือเล่มดีมากเลยทีเดียวและยังมีอีก 1 เล่มรจนา โดย พระราชวิสุทธิโสภณ วิลาศ ญาณวโร ป.ธ ๙ ชื่อว่า กรรมทีปนี Sometime ได้เคย โพสแล้ว 1 ครั้ง

ตอนย่อย  ภัททิยเศรษณี  

อดีตชาติล่วงแล้วหนหลัง ครั้งศาสนาแห่งสมเด็จพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เราตถาคตได้เกิดเป็นเศรษฐีมีนามว่าภัททิยเศรษฐีมีอาชีพเป็นนายพาณิชพ่อค้า สำเภา ส่วนเจ้าพิมพานี้เกิดเป็นกุมารีงามโสภา นามว่า ปติครุกา ภายหลังต่อมาได้เป็นบาทบริจาริกาแห่งภัททิยเศรษฐีนั้น
กาลวันหนึ่ง ภัททิยเศรษฐีมีกิจจะต้องเดินทางโดยสำเภาไปค้าขายยังเมืองสุวรรณภูมิ เป็นเวลาช้านานจะประมาณวันเดือนปีมิได้ดังนั้น ก่อนที่จะออกเดินทางจึงสั่งนางปติครุกาไว้ว่า เจ้าอยู่ข้างหลังจงตั้งใจอย่าได้ประมาท เร่งระวังรักษาตัวเจ้าและทรัพย์สมบัติไว้ให้ดี ครั้นสามีออกเดินทางไปแล้ว นางปติครุกาก็กระทำตามคำสั่งสามีทุกสิ่งทุกประการ
สมัยนั้น สมเด็จพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จพุทธดำเนินโปรดสัตว์มาจนถึงเมืองพารา ณสี อันเป็นเมืองของภัททิยเศรษฐี นางปติครุกาภริยาแห่งภัททิยเศรษฐีเจ้ามีศรัทธา ทูลอาราธนาสมเด็จพระพุทธเจ้าพร้อมกับพระอริยสงฆ์องค์บริวารให้เข้าไปรับ อาหารบิณฑบาตที่คฤหาสน์ของนาง ครั้นเสร็จภัตกิจแล้ว สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ก็ทรงประทานพระธรรมเทศนาภัตตานุโมทนา แสดงผลานิสงส์แห่งบิณฑบาตทาน นางปติครุกาได้สดับพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้วกอปรด้วยศรัทธากล้าหาญปสันนาการเลื่อมใส จึงกราบทูลอาราธนาพระองค์ไว้มิให้เสด็จไปสู่นครอื่น แล้วได้บริจาคทรัพย์สมบัติมากมายออกจำหน่ายจ่ายสร้างพระวิหาร วันฉลองพระวิหารก็ได้ถวายไตรจีวรเย็บย้อมเป็นอันดี ในขณะที่สมเด็จพระพุทธองค์กับทั้งพระสงฆ์สาวกบริวารเสด็จมารับมหาทานใน พิธีการฉลองพระวิหารนั้น นางก็หลั่งทักษิโณทก ให้ตกลงเหนือฝ่าพระหัตถ์แห่งสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าแล้ว จึงตั้งปณิธานความปรารถนาว่า
ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนผลานิสงส์นี้ ส่งไปให้สามีของข้าพเจ้าผู้ชื่อภัททิยเศรษฐี เดชะผลทานนี้ ขอให้สามีของข้าพเจ้าประกอบไปด้วยสิริสวัสดี นิราศปราศจากภัยอันตรายในมหาสมุทร"
สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าจึงทรงอนุโมทนาว่า ขอความปรารถนาของเจ้าจงสำเร็จดั่งมโนรถเถิด แล้วก็ประทับอยู่ในพระวิหารตามคำอาราธนาของนาง ข้างทางภัททิยเศรษฐีหลังจากที่ฟันฝ่าอุปสรรคอันตรายในท่ามกลางมหาสมุทรใหญ่ เดินทางไปค้าขายยังสุวรรณภูมินคร ครบกำหนดนานถึง ๓ ปี แล้วจึงได้กลับมาถึงคฤหาสน์แห่งตนที่เมืองพาราณสีโดยปลอดภัย แต่พอมาถึงและนั่งลงแล้ว นางปติครุกาภริยาก็แจ้งความตามที่นางได้บำเพ็ญกองการกุศลต่างๆ แล้วพาสามีไปสู่พระวิหารที่ตนสร้างไว้ในพระบวรพุทธศาสนา เพื่อให้สามีได้ชื่นชมโสมนัสในมหากุศล ชวนกันเข้าไปถวายอภิวาทแทบพระยุคลแห่งองค์สมเด็จพระทศพลปทุมุตรสัมมาสัมพุทธ เจ้าซึ่งยังประทับอยู่ที่พระวิหารนั้น ครั้นภัททิยเศรษฐีเพ่งพิศพินิจดูสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าก็ยิ่งบังเกิดความ ศรัทธาออกวาจาสรรเสริญสดุดีว่า สมเด็จพระบรมศาสดาเป็นผู้ทรงพระเดชพระคุณอันล้ำเลิศประเสริฐกว่าสรรพสัตว์ใน ไตรภพ ทรงรบชนะซึ่งปัญจวิธมารได้อย่างจริงแท้แน่นอนโดยมิต้องสงสัย สดุดีฉะนี้แล้ว ก็มีสกลกายและดวงหฤทัยเต็มตื้นไปด้วยกำลังปีติโสมนัสยิ่ง แล้วจึงมีสุนทรวาจากล่าวกับภริยาว่า
"ดูกรเจ้าซึ่งมีพักตร์อันเจริญ! เจ้านี่เป็นคนดีหนักหนา มีจิตศรัทธากอปรด้วยปัญญาสร้างมหากุศลไว้ในพระบวรพุทธศาสนาเห็นปานฉะนี้ คราวนี้ นับว่าเป็นบุญลาภของเราทั้งสองแล้ว ด้วยว่าเราจักได้สำเร็จพระโพธิญาณก็เพราะการกุศลนี้"
ภัททิยเศรษฐีผู้มีศรัทธา ปลงปัญญาให้เห็นตามความเป็นจริงดั่งนี้แล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้วน้อมกายถวายนมัสการสมเด็จพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้ง แล้วครั้งเล่า แล้วจึงออกโอษฐ์ตั้งความปรารถนาเอาพระพุทธภูมิโพธิญาณ เฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระปทุมุตรบรม- ศาสดาจารย์ ด้วยประการฉะนี้
สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงนำเอาเรื่องในอดีตชาติมาตรัสเล่า ณ ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตจบลงแล้ว จึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสแก่สมเด็จพระพิมพาภิกษุณีอีกว่า
"ดูกรเจ้าพิมพา อันตัวเจ้านี้มีคุณแก่เราตถาคตมาแต่กาลก่อน เราตถาคตจักได้สำเร็จแก่พระบวรสัมโพธิญาณ ก็เพราะอาศัยเจ้าเป็นส่วนสำคัญ ตลอดเวลาที่ยังต้องท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร เราทั้งสองนี้เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา เราเคยกระทำบุญให้ทานการกุศล ร่วมกันมา ตั้งแต่นี้ต่อไปเบื้องหน้า เราทั้งสองนี้จะขาดจากวิสาสะกันแล้ว การที่ว่าจะได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันอีกต่อไปก็หามิได้ ด้วยว่าเจ้าจะดับขันธ์เข้าสู่อมตมหานฤพานไป นับวันแต่จะไกลกันแล้ว จะได้มีโอกาสช่วยเราตถาคตเพิ่มบารมีอีกก็หามิได้ โทษผิดอันใดที่เจ้าเคยมีต่อเราตถาคตแต่ปางก่อน วันนี้เป็นวันที่เราตถาคตอดโทษให้แก่เจ้าจนหมดสิ้น อนึ่ง โทษานุโทษอันใด ที่เราตถาคตได้เคยประมาทล่วงเกินเจ้า ด้วยความพลาดพลั้งทั้งลับหลังและต่อหน้าตลอดเวลาที่ยังต้องท่องเที่ยวเวียน ว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ขอเจ้าจงอดโทษานุโทษนั้น ให้แก่เราตถาคตเสียให้สิ้น แล้วจงดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอันเป็นเอกันตบรมสุขไปก่อนเถิดนะ เจ้าพิมพา"
สมเด็จพระบรมศาสดาทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้แล้ว ก็ทรงนิ่งเฉยมิได้ตรัสประการใดอีก ด้วยทรงเห็นว่าเวลายังเหลือน้อยแล้วขณะนั้น สมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณีจึงมีวาจาทูลลาเป็นครั้งสุดท้ายว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระสวัสดิภาคเป็นอันงาม พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งแห่งปวงประชาสัตว์ในโลก พระเจ้าข้า ในอเนกบุรพชาติแต่ก่อนมา ข้าพระบาทพิมพานี้ได้เคยร่วมสร้างบารมีกับด้วยพระองค์เป็นอันมากกว่ามาก ตั้งแต่นี้ไปพิมพาข้าพระบาทนี้ก็จะไม่ได้ร่วมบารมี กับด้วยพระองค์อีกแล้ว อนึ่ง แต่บุรพชาติล่วงแล้วมา เมื่อยังต้องท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร พิมพาข้าพระบาทจะได้ขาดวิสาสะคุ้นเคยกับพระองค์ก็หามิได้ ด้วยเป็นที่สบอัธยาศัยพอใจร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา พิมพาได้ทุกข์พระองค์ก็พลอยทุกข์ด้วย พิมพาได้สุขพระองค์ก็พลอยสุขด้วย เหมือนกันดั่งเช่นในกาลที่เกิดเป็นกินนร สมัยสมเด็จพระชินวรโลกนาถอภินันทสัมมาสัมพุทธบพิตร
จริงอยู่ สมัยที่สมเด็จพระอภินันทสัมมาสัมพุทธบพิตรผู้ประเสริฐทรงอุบัติเกิดในโลก นั้น พระองค์ทรงเสวยพระชาติเป็นพญากินนร แม้พิมพาข้าพระบาทนี้ก็ได้เกิดเป็นนางกินรีเทวี และได้สมัครรักใคร่เป็นสามีภรรยากันด้วยเสน่หา พญากินนรและนางกินรีทั้งสอง นั้น พากันไปเที่ยวเล่นเป็นที่เริงสราญใจ ที่จอมเขาประดับด้วยไม้นานาพรรณบ้างพากันไปเที่ยวเล่นที่ป่าใหญ่ประดับด้วย บุปผาสุมาลัยหลากสีเป็นที่น่ารื่นรมย์แห่งใจ บ้างพากันเที่ยวที่ริมฝั่งน้ำมีหาดทรายขาวสะอาดตาน่าทัศนา ทั้งสองสามีภรรยาพากันเที่ยวเล่นเป็นที่สำราญสนุกทุกวัน
อยู่มาวันหนึ่ง พญากินนรและนางกินรีเทวีสองสามีภรรยาพากันไปเที่ยวเล่นที่ริมฝั่งน้ำ เที่ยวเก็บเอาดอกไม้บุปผชาติหลากสีมีกลิ่นหอมมาปูลาดเหนือหาดทรายให้มากแล้ว ก็ชวนกันนอนเล่นเหนือดอกไม้นั้นเป็นที่สุขสำราญรื่นรมย์แห่งใจ เมื่อบังเกิดความสุขสบายจึง พากันหลับไหลอยู่ในสถานที่นั้นนานเท่านาน จนน้ำในมหาสมุทรไหลท่วมขึ้นมาเป็นอันมากด้วยว่าเป็นเวลาน้ำขึ้น ท่วมขึ้นมาจนถึงที่ซึ่งกินนรทั้งสองนอนอยู่ เมื่อรู้สึกตัวได้สมปฤดีสองกินนรก็ให้มีความตกอกตกใจกลัวอุทกภัย จึงพากันว่ายน้ำหลงไปแต่ละทิศละทาง เมื่อต่างก็หนีน้ำไปจนขึ้นเขาได้แล้วจึงเที่ยวตามหากัน แต่มิได้พบมิได้เห็นกัน จึงต่างก็ร้องไห้ปรารภถึงกัน อาลัยรักรำพันถึงกัน เป็นทุกข์เป็นร้อนถึงกันและกันหนักหนา เที่ยวตามหากันอยู่ตลอดราตรี พอสุรีย์ไขแสงทองส่องโลกรุ่งเช้า ครั้นมาพบกันเข้าแล้ว ต่างก็โผเข้ากอดกันและกันร้องไห้รำพันไปต่างๆนานา ด้วยความเสน่หาอาลัยในกันและกันยิ่งหนักหนา มาตรว่าจะจากกันเพียงราตรีหนึ่งไม่ถึงทิวา ก็มีครุวนาดุจว่าจะจากกันได้ถึง ๗ ปี ก็ปานกันนะ พระเจ้าข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ! แต่ปางก่อนที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร พระองค์กับพิมพาข้าพระบาทจะได้ขาดวิสาสะคุ้นเคยกันก็หามิได้ด้วยเป็นที่สบ อัธยาศัยพอใจและมีความเสน่หาอาลัยรักใคร่กันมานานช้า ตั้งแต่นี้ไปจะสิ้นวิสาสะกันความสัมพันธ์อันเคยมีแต่ปางก่อนก็จะขาดสะบั้นลง เสียแล้ว ด้วยว่า ข้าพระบาทที่ชื่อว่าพิมพานี้จะขอกราบถวายนมัสการลาฝ่าพระบาทยุคลทั้งคู่ของ สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า ดับขันธ์เข้าสู่เมืองแก้ว กล่าวคือ พระอมตมหานฤพาน ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระสัพพัญญุตญาณ! กาลนี้ก็เป็นกาลอันควรที่จะไปสถานที่ดับขันธ์เข้าสู่อมตมหานฤพานแล้ว พิมพาข้าพระบาทขอฝาก พระลูกแก้วราหุลด้วย ขอพระองค์จงทรงช่วยอภิบาลบำรุงรักษา พิมพาข้าพระบาทนี้ขอกราบทูลลาพระองค์แล้ว......
เมื่อสมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณีเถรี ถวายบังคมลาเป็นครั้งสุดท้ายฉะนี้ สมเด็จพระชินสีห์เจ้าจึงทรงมีพระมหากรุณาตรัสถามว่า
"ดูกรเจ้าพิมพาเอ๋ย ! เจ้าจะไปดับขันธ์นิพพาน ณ สถานที่ใดเล่า ? "
"พิมพาข้าพระบาทนี้ จะไปดับขันธ์เข้าสู่นิพพานที่อารามพระภิกษุณี ซึ่งมีอยู่ข้างทิศอุดรแห่งนครสาวัตถี พระเจ้าข้า"
สมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณีเถรี กราบทูลดั่งนี้แล้ว ก็เฝ้าถวายบังคมที่แทบพระยุคลบาทแห่งองค์สมเด็จพระประทีปแก้วอยู่หลายครั้ง หลายหนหนักหนา แล้วจึงค่อยถดถอยออกมา พาพระภิกษุณีสงฆ์ที่เป็นบริวารออกจากที่เฝ้าแต่กาลนั้น ซึ่งเป็นเพลาปัจจุสมัยใกล้จะรุ่งสางสว่างแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

净空法师谈健康智慧财富

5ovFZZ.jpg








释净空,俗姓徐,名业鸿,民国十六年(一九二七)二月十五日生于安徽省庐江县,幼居福 建建瓯。抗战时,求学于贵州国立第三中学,胜利后就 读于南京市立第一中学。一九四九年来台湾,服务于实践学社,公余之时研读经史古文,先 后追随方东美先生,章嘉大师,李炳南老居士等研习哲学、佛经十三年 一九五九年于台北市圆山临济寺剃度,法名觉净字净空。受具足戒后,在国内外,弘扬佛法 ,讲述华严经 法华经、楞严经、圆觉经六祖坛经 金刚经 净土五经等大乘经论数十种,三十六年无间断,现存音影带三千数百卷。法师在国内先 后创办华藏法施会、华藏精舍、华藏佛教视听图书馆、华藏讲堂、及佛陀教育基金会。首开 风气之 先,使用视听教育之方法,弘扬佛法,大量制作佛法讲经录音带、录影带, 分送世界各地,以及倡印赠送 大藏经 暨各种经论善书逾千余万册,佛菩 萨像多种数百万张流通全球。 法师曾任台北圆山临济寺书记,十普寺三藏学院教师,南普陀佛学院教 师,中国佛教会设计委员 弘法委员 东方佛教学院学教授兼教务主任,松 山寺大专佛学讲座讲师,中国内学院院长 中国文化学院教授,中国佛教会 大专院校佛学讲座总主讲,天主教东亚精神生活研习所教授,华藏法施会会 长 华藏精舍住持,华藏佛教图书馆导师,华藏净宗学会会长暨佛陀教育基 金会董事长 美国达拉斯佛教会会长新加坡净宗学会导师。法师于国内外 倡导促进成立'净宗学会'十五处 提倡专修净业 专弘净宗。法师已届古 稀之年,于今辞去海内外佛教社团一切职务。专心弘法教学 老实念佛 求 生净土 法师首倡'佛教'正名为'佛陀教育'。指出大乘教学方针在彻底破除 迷信,启发真智,使能明辨真、妄、正、邪、是、非、善、恶、利、害,建 立理智、大觉、奋发、进取、乐观、向上的慈悲济世的人生宇宙观,才能圆 满达成解决众生一切苦难,获得真实永恒幸福的教育目标'



วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ชาติที่๙ วิธูรบัณฑิตจุติสังสารวัฏฏ์



ก่อนอื่นควรทราบว่า(จิต)เกิดดับสืบต่อกัน เป็นปัจจัยแก่กันในชาติปัจจุบันนี้จิตขณะ

แรกเกิดขึ้นดับไปเป็นปัจจัยแก่จิตขณะต่อมาสืบต่อมาเรี่อย ๆ จิตขณะนี้ดับไปเป็น

ปัจจัยแก่จิตขณะต่อไปสืบต่อไปจนถึง(จุติจิต)จุติจิตเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิจิตในชาติ

ต่อไปสืบต่อเนื่องไป เรียกว่า สังสารวัฏฏ์ อกุศลกรรม และกุศลกรรมที่เรากระทำในชาติ

ก่อน ๆ หรือชาตินี้ ย่อมสะสมสืบต่อไปแม้ว่าจะเป็นบุคคลใหม่ในชาติใหม่แล้วก็ตามวิบาก

ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นตามสมควรแก่เหตุ กรรมไม่ได้หายไปไหน แม้ผู้ทำกรรมลืมไป

แล้วแต่กรรมย่อมไม่ลืมที่จะให้ผล



.................................ชาติที่๙ วิธูรบัณฑิต..........................


ใน อดีตกาลนานมาแล้ว ยังมีเศรษฐีหนุ่ม ๔ คน ซึ่งเป็นสหายสนิทกัน ครั้งหนึ่งสหายทั้ง ๔ ได้พบเห็นดาบส ๔ องค์ที่ออกจากป่าหิมพานด์มาจำพรรษาในเมื่องระหว่างฤดูฝน ก็ให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงนิมนต์ดาบสแต่ละองค์ไปพักอยู่ในเคหสถานของตนเศรษฐีหนุ่มแต่ละคนต่างก็ ปรนนิบัติบำรุงดาบสองค์ที่ตนนิมนต์อย่างดีด้วยอาสนะและอาหารต่าง ๆ ซึ่งดาบสทั้ง ๔ จะมายังเคหสถานของเศรษฐีเฉพาะในตอนเย็นเท่านั้น แต่ตอนกลางวันต่างก็แยกย้ายกันไปพักยังที่อื่นดังนี้
ดาบสท่านหนึ่ง ไปพัก ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ดาบสท่านหนึ่ง ไปพัก ณ เมืองบาดาล
ดาบสท่านหนึ่ง ไปพัก ณ วิมานพญาครุฑ
ดาบสท่านหนึ่ง ไปพัก ณ อุทยานของพระเจ้าธนญชัยโกรพ
ดาบส ทั้ง ๔ ต่างก็ได้พรรณนาถึงสมบัติของพระจันทร์ในดาวดึงส์ของพญานาคในบาดาล ของพญาครุฑ


และพระราชาให้เศรษฐีแต่ละคนได้ฟังว่า สมบัติเหล่านั้นมีความวิเศษอย่างไรบ้าง
เมื่อฟังแล้วเศรษฐีหนุ่มทั้ง ๔ สหายต่างก็เกิดความชื่นชมอยากได้ครองสมบัติวิเศษเยี่ยงนั้นบ้างต่างจึงเพียร ทำบุญบริจาคทาน และประพฤติมั่นอยู่ในความดีตราบจนสิ้นอายุขัย
เศรษฐีคนหนึ่ง จึงได้ไปจุติเป็นพระอินทร์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เศรษฐีคนหนึ่ง จึงได้ไปจุติเป็นพญานาค ณ เมืองบาดาล
เศรษฐีคนหนึ่ง จึงได้ไปจุติเป็นพญาครุฑ ณ วิมานฉิมพลี
เศรษฐีคนหนึ่ง จึงได้ไปจุติเป็นพระโอรสของพระราชา
ผู้ที่ได้ไปจุติเป็นพระโอรสของพระเจ้าธนญชัยโกรพนั้นมีพระนามว่า พระโกรพกุมาร ครั้นพระราชบิดาเสด็จสวรรคตก็ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อไป



ในราชสำนักนั้นมีอำมาตย์ราชบัณฑิตท่านหนึ่งนามว่า วิธูรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ที่พระราชาโกรพให้ความเคารพนับถือ
วิธู รบัณฑิตได้ถวายคำแนะนำให้พระราชาโกรพตั้งอยู่ในทศพิธ - ราชธรรมและบำเพ็ญศีล ซึ่งพระราชาก็ทรงปฏิบัติตามนั้นเสมอมาพระเจ้าโกรพนั้นทรงโปรดการเล่นสกามาก ทรงสำราญพระทัยในการเล่นสกาเหนือสิ่งอื่นใด เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ชนะเสมอนั่น
เองการที่คู่เล่นต้องพ่ายแพ้ทุกครั้งทุกคราว ที่แท้ก็เป็นเพราะมีเทพธิดาองค์หนึ่งคอยช่วยกลับลูกสกาที่ทอดให้ได้แต้มดีทุกครั้งไป
เทพธิดา องค์นั้นเป็นเทพธิดาประจำพระองค์ มีหน้าที่คอยพิทักษ์และคุ้มครองพระราชาโกรพโดยที่พระองค์มิได้รู้ในข้อนี้ จึงคิดว่าตนนั้นมีพระปรีชาสามารถในสกาเหนือกว่าผู้ใด
ทุก ๆ วันอุโบสถ พระราชาโกรพจะต้องออกจากพระราชวังไปรักษาศีล และสนทนาธรรมกับสหายในชาติเดิมทั้ง ๓ ซึ่งในทั้ง ๓ภพนี้ก็คือพระอินทร์ พญานาค และพญาครุฑนั่นเอง
วันหนึ่งสหายทั้ง ๔ ได้สนทนาว่าการถือศีลของผู้ใดจะประเสริฐกว่ากัน
พญานาคกล่าวว่าตนมีธรรมชาติอันดุร้าย แต่สามารถข่มกลั้นโทสะได้เมื่อมาถือศีล
พญาครุฑกล่าวว่าตนต้องกินนาค แต่ก็สามารถอดกลั้นได้เมื่อมาถือศีล
พระอินทร์กล่าวว่าตนต้องสละความสุขทั้งปวงบนดาวดึงส์มาถือศีล จึงน่าจะประเสริฐที่สุด
พระราชาโกรพกล่าวว่าตนพิจารณาเห็นโทษของกามคุณ จึงออกมาถือศีล
ด้วยปรารถนาจะให้มีการชี้ขาดว่าผู้ใดประเสริฐกว่า จึงให้วิธูรบัณฑิตมาพิจารณาตัดสินวิธูรบัณฑิตฟังความทั้งสิ้นแล้วก็ทูลว่า
ศีลของท่านทั้ง ๔ ประเสริฐเสมอเหมือนกัน มิได้มียิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
พระสหายทั้ง ๔ ปลื้มปิตินัก จึงมอบของกำนัลบูชาราชบัณฑิตดังนี้.................................

พระอินทร์บูชาด้วยผ้าวิเศษทุกูลพัสตร์
พญานาคบูชาด้วยแก้ววิเศษ
พญาครุฑบูชาด้วยดอกไม้ทอง
พระราชาบูชาด้วยโคนม ๑๐๐๐ ตัว
ฝ่าย พญานาคนั้นเมื่อได้กลับไปยังเมืองบาดาล พระมเหสีวิมาลาเห็นแก้ววิเศษที่คล้องคอหายไปจึงไถ่ถาม ครั้นพอทราบความแล้วก็อยากฟังธรรมจากวิธูรบัณฑิตบ้าง แต่ท้าววิรุณนาคราชเห็นว่าคงมิสามารถนำตัววิธูบัณฑิตลงมายังเมืองบาดาลได้ พระมเหสีจึงแสร้งทำเป็นป่วยจนทรุดหนัก พระราชธิดาอิรันทตีจึงอาสาไปนำ{หัวใจ}วิธูบัณฑิตมาถวายพระมารดา
พระนางอิ รันทตีขึ้นมายังเมืองมนุษย์ในรูปโฉมของสตรีผู้งดงามพลางขับร้อง พรรณนาถึงสมบัติวิเศษและความงามของตน ซึ่งจะมอบให้แก่ผู้ที่น่าเอา{หัวใจ}ของวิธูบัณฑิตมาให้ตนได้สำเร็จ
ยักษ์ตนหนึ่งนามว่า{ปุณณกะ}เป็นผู้อาสากับพระราชธิดาแล้วปุณณกะก็ทำอุบายไปขอแข่งสกากับพระราชาโกรพ


เดิมพัน นั้นคือแก้ววิเศษกับม้าวิเศษ แลกกับราชสมบัติทั้งปวงเมื่อการเล่นสกาเริ่มขึ้น พระราชาโกรพก็ทอดลูกบาศก์ได้แต้มดีกว่าเสมอจนปุณณกะสงสัย จึงใช้ญาณวิเศษเล็งไปจึงเห็นว่ามีเทพธิดาคอยช่วยอยู่ยักษ์ปุณณกะจึงถลึงตา ขู่ เทพธิดาตกใจกลัวจึงหนีออกไปจาก ณ ที่นั้นทันทีเมื่อสิ้นเทพธิดาคอยช่วย ในที่สุดยักษ์ปุณณกะก็ได้ชัยในการเดิมพัน ครั้งนี้
แต่ทว่าปุณณกะทูลต่อพระเจ้าโกรพว่า เขามิต้องการราชสมบัติทั้งปวงของพระองค์ เขาต้องการตัวของวิธูรบัณฑิตเท่านั้น
พระ ราชาจึงว่า วิธูรเป็นราชบัณฑิตที่ตนนับถือ มิใช่เป็นสมบัติของพระองค์ที่จะยกให้แก่ผู้ใดได้ ปุณณกะจึงให้เชิญวิธูรมาตัดสินวิธูรบัณฑิตก็ตัดสินว่า ตนเองเป็นข้ารับใช้ของพระราชาเมื่อเป็นดังนั้น พระเจ้าโกรพจึงจำต้องยกวิธูรบัณฑิตให้กับปุณณวะที่ปลอมตัวเป็นมานพผู้หนึ่ง ไปตามประสงค์ โดยขอให้วิธูรแสดงธรรมอันไพเราะให้พระองค์ได้สดับฟังเป็นครั้งสุดท้าย
ตลอด ทางที่ปุณณกะได้ขี่ม้าเดินทางไปโดยได้ให้วิธูรบัณฑิตเกาะหางม้าและแกล้ง ขี่ม้าผาดโผนหวังให้วิธูรกระทบถูกภูเขาและต้นไม้เพื่อที่จะได้ตายไป และตนก็จะได้ควักหัวใจวิธูรไปให้พระนางอิรันทตีอย่างง่าย ดายแต่เมื่อเห็นวิธูรบัณฑิตยังรอดปลอดภัยดี ปุณณกะก็สำแดงอิทธิฤทธิ์ร่ายเวทเรียกลมกรดมา แต่ทว่าลมกรดก็พัดแยกออกให้วิธูรผ่านไปได้โดยมิเป็นอันตรายแม้สักน้อย

 พระอินทร์บูชาด้วยผ้าวิเศษทุกูลพัสตร์
พญานาคบูชาด้วยแก้ววิเศษ
พญาครุฑบูชาด้วยดอกไม้ทอง
พระราชาบูชาด้วยโคนม ๑๐๐๐ ตัว
ฝ่าย พญานาคนั้นเมื่อได้กลับไปยังเมืองบาดาล พระมเหสีวิมาลาเห็นแก้ววิเศษที่คล้องคอหายไปจึงไถ่ถาม ครั้นพอทราบความแล้วก็อยากฟังธรรมจากวิธูรบัณฑิตบ้าง แต่ท้าววิรุณนาคราชเห็นว่าคงมิสามารถนำตัววิธูบัณฑิตลงมายังเมืองบาดาลได้ พระมเหสีจึงแสร้งทำเป็นป่วยจนทรุดหนัก พระราชธิดาอิรันทตีจึงอาสาไปนำ{หัวใจ}วิธูบัณฑิตมาถวายพระมารดา
พระนางอิ รันทตีขึ้นมายังเมืองมนุษย์ในรูปโฉมของสตรีผู้งดงามพลางขับร้อง พรรณนาถึงสมบัติวิเศษและความงามของตน ซึ่งจะมอบให้แก่ผู้ที่น่าเอา{หัวใจ}ของวิธูบัณฑิตมาให้ตนได้สำเร็จ
ยักษ์ตนหนึ่งนามว่า{ปุณณกะ}เป็นผู้อาสากับพระราชธิดาแล้วปุณณกะก็ทำอุบายไปขอแข่งสกากับพระราชาโกรพ


เดิมพัน นั้นคือแก้ววิเศษกับม้าวิเศษ แลกกับราชสมบัติทั้งปวงเมื่อการเล่นสกาเริ่มขึ้น พระราชาโกรพก็ทอดลูกบาศก์ได้แต้มดีกว่าเสมอจนปุณณกะสงสัย จึงใช้ญาณวิเศษเล็งไปจึงเห็นว่ามีเทพธิดาคอยช่วยอยู่ยักษ์ปุณณกะจึงถลึงตา ขู่ เทพธิดาตกใจกลัวจึงหนีออกไปจาก ณ ที่นั้นทันทีเมื่อสิ้นเทพธิดาคอยช่วย ในที่สุดยักษ์ปุณณกะก็ได้ชัยในการเดิมพัน ครั้งนี้
แต่ทว่าปุณณกะทูลต่อพระเจ้าโกรพว่า เขามิต้องการราชสมบัติทั้งปวงของพระองค์ เขาต้องการตัวของวิธูรบัณฑิตเท่านั้น
พระ ราชาจึงว่า วิธูรเป็นราชบัณฑิตที่ตนนับถือ มิใช่เป็นสมบัติของพระองค์ที่จะยกให้แก่ผู้ใดได้ ปุณณกะจึงให้เชิญวิธูรมาตัดสินวิธูรบัณฑิตก็ตัดสินว่า ตนเองเป็นข้ารับใช้ของพระราชาเมื่อเป็นดังนั้น พระเจ้าโกรพจึงจำต้องยกวิธูรบัณฑิตให้กับปุณณวะที่ปลอมตัวเป็นมานพผู้หนึ่ง ไปตามประสงค์ โดยขอให้วิธูรแสดงธรรมอันไพเราะให้พระองค์ได้สดับฟังเป็นครั้งสุดท้าย
ตลอด ทางที่ปุณณกะได้ขี่ม้าเดินทางไปโดยได้ให้วิธูรบัณฑิตเกาะหางม้าและแกล้ง ขี่ม้าผาดโผนหวังให้วิธูรกระทบถูกภูเขาและต้นไม้เพื่อที่จะได้ตายไป และตนก็จะได้ควักหัวใจวิธูรไปให้พระนางอิรันทตีอย่างง่าย ดายแต่เมื่อเห็นวิธูรบัณฑิตยังรอดปลอดภัยดี ปุณณกะก็สำแดงอิทธิฤทธิ์ร่ายเวทเรียกลมกรดมา แต่ทว่าลมกรดก็พัดแยกออกให้วิธูรผ่านไปได้โดยมิเป็นอันตรายแม้สักน้อย

มิว่าจะจำแลงแปลงร่างมาทำอันตรายใด ๆ ปุณณกะก็มิอาจสามารถทำร้ายวิธูรบัณฑิตได้ ด้วยเพราะอำนาจบารมีแห่งศีลแห่งสัตย์ปกป้องรักษาอยู่อย่างมั่นคง
วิธูรบัณฑิตถามปุณณกะถึงเหตุที่พยายามเอาชีวิตของตน ปุณณกะจึงเล่าความทั้งหมดให้ฟังตามจริง
วิธู รบัณฑิตจึงเข้าใจได้ว่า การที่พระมเหสีของพญานาคบอกว่าต้องการหัวใจของตนนั้นหมายถึง ต้องการฟังธรรมจากตน เพราะธรรมคือหัวใจของนักปราชญ์ราชบัณฑิต มิได้ต้องการฆ่าตนเพื่อเอาหัวใจ แต่อย่างใด


วิธูรบัณฑิตจึงได้แสดงโอวาท แก่ปุณณกะจนกระทั่งปุณณกะสำนึกได้ว่าตนหลงผิด เพียงเพราะลุ่มหลงในมายาสตรี เมื่อซาบซึ้งในธรรมอันไพเราะแล้ว ปุณณกะจึงคิดเลิกเอาชีวิตวิธูรบัณฑิตอีกต่อไปเมื่อวิธูรบัณฑิตลงไปยังเมือง พญานาคก็ได้แสดงธรรมแก่ท้าว
วิรุณนาคราชและพระมเหสีทั้งสองผู้เป็นใหญ่ใน เมืองบาดาลบังเกิดความซาบซึ้งในธรรมและเลื่อมใสใน ตัววิธูรบัณฑิตเป็นยิ่งนัก ก็ได้กล่าวยกย่องสรรเสริญและให้ปุณณกะนำตัววิธูบัณฑิตขึ้นไปส่งยังราชสำนัก และได้ประทานราชธิดาอิรันทตีแก่ปุณณกะด้วย
พระราชโกรพปิติยินดีเป็นยิ่ง นัก ทรงโปรดให้จัดงานฉลองรับขวัญวิธูรบัณฑิตนาน ๑ เดือนเต็ม พร้อมทั้งทรงบำเพ็ญกุศลบริจาคทานเป็นการใหญ่ด้วยระลึกได้ว่า การเล่นพนันอย่างลุ่มหลงของพระองค์แท้ๆ เทียวที่ทำให้ต้องสูญเสียราชบัณฑิตผู้เป็นดั่งแก้วแห่งบัลลังก์ไปอย่างน่า เสียดายธรรมนั้นได้ช่วยให้วิธูรบัณฑิตรอดพ้นจากความตาย และยังทำให้มีแต่ผู้ศรัทธาเลื่อมใสในทุกแห่งหน


..............จบชาติที่๙ วิธูรบัณฑิตจุติสังสารวัฏฏ์...............

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำสอนของอาจารย์เปิดดวงตา





บทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ถูกเขียนในเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่ 9 แห่งสมัยบุนเออิ ค.ศ. 1272 ที่กระท่อมซัมไมโด ทุ่งสึคาฮาระ บนเกาะซาโดะ เมื่อพระนิชิเร็น ไดโชนินอายุ 51 ปี แม้ว่าบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้เขียนถึงชิโจ คิงโงะ โยริโมโตะแต่แท้ที่จริงแล้ว ธรรมนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งไปที่ผู้ติดตามพระนิชิเร็นไดโชนินทุกคนบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้มี 2 ส่วน และพระนิชิเร็น ไดโชนิน ได้ตั้งชื่อบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ว่าบทธรรมนิพนธ์ [เปิดดวงตา] ในชื่อคือการกล่าวถึง

การเปิดตาบอดของผู้ที่ไม่มีปัญญาเกี่ยวกับศาสนาพุทธแท้ในขณะที่บทธรรมนิพนธ์สิ่ง [สักการะแท้] เปิดเผยสิ่งสักการะในแง่ของธรรมะ บทธรรมนิพนธ์ [เปิดดวงตา]นี้ เปิดเผยสิ่งสักการะในแง่ของบุคคล นี่คือบทธรรมนิพนธ์สำคัญอย่างยิ่งที่ถูกจัดอยู่ใน 5 บทธรรมนิพนธ์สำคัญของพระนิชิเร็น ไดโชนินในส่วนแรกของบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินใช้การเปรียบเทียบ 5 ระดับเพื่อเปิดเผยความแตกต่าง ความเหนือกว่ากับความด้อยกว่า และความผิวเผินกับความลึกซึ้งระหว่างคำสอนที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธกับคำสอนตลอดพระชนม์ชีพของ [พระศากยมุนีพุทธะ] ในส่วนที่2พระนิชิเร็นไดโชนินเปิดเผยว่าท่านคือ พระพุทธะที่มีคุณธรรม 3 ประการแห่งเจ้านาย อาจารย์และบิดามารดา ข้อความที่

หยิบยกมาซึ่งพวกเราให้ความสนใจในวันนี้อยู่ในตอนท้าย ๆ ของส่วนที่ 2 พระนิชิเร็นไดโชนินนำเสนอการเผยแผ่ 2 วิธี โชจุและชะคุบุขุ ต่อมาท่านสอนพวกเราว่าในสมัยปัจฉิมธรรม เมื่อมีคนมากมายที่มีความเห็นนอกรีตและดูหมิ่นธรรมะ วิธีเหมาะสมเพื่อการเผยแผ่ธรรมะคือชะคุบุขุ การหักล้างความเชื่อนอกรีตและการเปิดเผยความจริงการชะคุบุขุ

ในสมัยปัจฉิมธรรมโชจุและชะคุบุขุ คือ 2 วิธีซึ่งพระพุทธะนำผู้คน โชจุคือวิธีการสอนที่ถึงแม้ว่าผู้คนมีความเชื่อไม่ถูกต้องพระพุทธะจะยอมรับความคิดที่ผิดของพวกเขาเป็นการชั่วคราวและค่อย ๆ แก้ไขพวกเขาและนำพวกเขาไปสู่ธรรมะแท้ ในทางตรงข้าม ชะคุบุขุคือวิธีซึ่งไม่อาจทนต่อความเชื่อนอกรีต พระพุทธะชี้ให้เห็นความคิดที่ผิดทันทีและนำผู้คนไปสู่ศาสนาพุทธแท้ในบทธรรมนิพนธ์ จดหมายจากซาโดะ พระนิชิเร็นไดโชนินอธิบายว่าวิธีที่นำผู้คนไปสู่ศาสนาพุทธจะต่างกันตามกาลเวลาในศาสนาพุทธจะเลือก [โชจุหรือชะคุบุขุ] ขึ้นอยู่กับเวลา

เรื่องราวในพุทธศาสนาที่มีปรากฏอยู่ในอภิธรรมโกษศาสตร์ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพราหมณ์ที่มาขอดวงตาในอดีตชาติ พระสารีบุตร ลูกศิษย์ของพระศากยมุนีพุทธะที่มีชื่อเสียงว่าเลิศทางปัญญา กำลังปฏิบัติโพธิสัตว์มรรคของการให้ทาน เมื่อพราหมณ์ปรากฏขึ้นมาและขอดวงตาข้างหนึ่งของเขา พระสารีบุตรตอบสนองโดยควักดวงตาให้แก่พราหมณ์

แทนที่พราหมณ์จะขอบคุณเขา แต่กลับประกาศว่า ดวงตามีกลิ่นเหม็น จึงขว้างทิ้งลงบนพื้นและเหยียบขยี้ พระสารีบุตรตกตะลึง เขาตัดสินใจที่จะไม่ช่วยบุคคลดังกล่าว และเขาก็เลิกการปฏิบัติของโพธิสัตว์ เป็นธรรมดาที่จะรู้สึกว่า ความเพียรพยายามของเรามีค่า และถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้น เมื่อเป็นที่รับรู้และชมเชยของผู้คนรอบตัวเราความรับผิดชอบส่วนหนึ่งของผู้นำ คือ การรับรู้ การกล่าวถึง และให้กำลังใจ ผู้ซึ่งเพียรพยายามอย่างอุทิศตนและกระตือรือร้น


อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่ได้รับการชมเชยหรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง สิ่งสำคัญคือ เราต้องไม่เกิดความไม่พอใจผู้นำหรือสมาชิกคนอื่น หรือสูญเสียความกระตือรือร้น นั่นมีแต่จะลบบุญกุศลและบุญวาสนาของเรา และเป็นเหตุให้เราหยุดการเจริญเติบโต....ข้อความจาก Sgi Organization