วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ชาติที่๙ วิธูรบัณฑิตจุติสังสารวัฏฏ์



ก่อนอื่นควรทราบว่า(จิต)เกิดดับสืบต่อกัน เป็นปัจจัยแก่กันในชาติปัจจุบันนี้จิตขณะ

แรกเกิดขึ้นดับไปเป็นปัจจัยแก่จิตขณะต่อมาสืบต่อมาเรี่อย ๆ จิตขณะนี้ดับไปเป็น

ปัจจัยแก่จิตขณะต่อไปสืบต่อไปจนถึง(จุติจิต)จุติจิตเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิจิตในชาติ

ต่อไปสืบต่อเนื่องไป เรียกว่า สังสารวัฏฏ์ อกุศลกรรม และกุศลกรรมที่เรากระทำในชาติ

ก่อน ๆ หรือชาตินี้ ย่อมสะสมสืบต่อไปแม้ว่าจะเป็นบุคคลใหม่ในชาติใหม่แล้วก็ตามวิบาก

ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นตามสมควรแก่เหตุ กรรมไม่ได้หายไปไหน แม้ผู้ทำกรรมลืมไป

แล้วแต่กรรมย่อมไม่ลืมที่จะให้ผล



.................................ชาติที่๙ วิธูรบัณฑิต..........................


ใน อดีตกาลนานมาแล้ว ยังมีเศรษฐีหนุ่ม ๔ คน ซึ่งเป็นสหายสนิทกัน ครั้งหนึ่งสหายทั้ง ๔ ได้พบเห็นดาบส ๔ องค์ที่ออกจากป่าหิมพานด์มาจำพรรษาในเมื่องระหว่างฤดูฝน ก็ให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงนิมนต์ดาบสแต่ละองค์ไปพักอยู่ในเคหสถานของตนเศรษฐีหนุ่มแต่ละคนต่างก็ ปรนนิบัติบำรุงดาบสองค์ที่ตนนิมนต์อย่างดีด้วยอาสนะและอาหารต่าง ๆ ซึ่งดาบสทั้ง ๔ จะมายังเคหสถานของเศรษฐีเฉพาะในตอนเย็นเท่านั้น แต่ตอนกลางวันต่างก็แยกย้ายกันไปพักยังที่อื่นดังนี้
ดาบสท่านหนึ่ง ไปพัก ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ดาบสท่านหนึ่ง ไปพัก ณ เมืองบาดาล
ดาบสท่านหนึ่ง ไปพัก ณ วิมานพญาครุฑ
ดาบสท่านหนึ่ง ไปพัก ณ อุทยานของพระเจ้าธนญชัยโกรพ
ดาบส ทั้ง ๔ ต่างก็ได้พรรณนาถึงสมบัติของพระจันทร์ในดาวดึงส์ของพญานาคในบาดาล ของพญาครุฑ


และพระราชาให้เศรษฐีแต่ละคนได้ฟังว่า สมบัติเหล่านั้นมีความวิเศษอย่างไรบ้าง
เมื่อฟังแล้วเศรษฐีหนุ่มทั้ง ๔ สหายต่างก็เกิดความชื่นชมอยากได้ครองสมบัติวิเศษเยี่ยงนั้นบ้างต่างจึงเพียร ทำบุญบริจาคทาน และประพฤติมั่นอยู่ในความดีตราบจนสิ้นอายุขัย
เศรษฐีคนหนึ่ง จึงได้ไปจุติเป็นพระอินทร์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เศรษฐีคนหนึ่ง จึงได้ไปจุติเป็นพญานาค ณ เมืองบาดาล
เศรษฐีคนหนึ่ง จึงได้ไปจุติเป็นพญาครุฑ ณ วิมานฉิมพลี
เศรษฐีคนหนึ่ง จึงได้ไปจุติเป็นพระโอรสของพระราชา
ผู้ที่ได้ไปจุติเป็นพระโอรสของพระเจ้าธนญชัยโกรพนั้นมีพระนามว่า พระโกรพกุมาร ครั้นพระราชบิดาเสด็จสวรรคตก็ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อไป



ในราชสำนักนั้นมีอำมาตย์ราชบัณฑิตท่านหนึ่งนามว่า วิธูรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ที่พระราชาโกรพให้ความเคารพนับถือ
วิธู รบัณฑิตได้ถวายคำแนะนำให้พระราชาโกรพตั้งอยู่ในทศพิธ - ราชธรรมและบำเพ็ญศีล ซึ่งพระราชาก็ทรงปฏิบัติตามนั้นเสมอมาพระเจ้าโกรพนั้นทรงโปรดการเล่นสกามาก ทรงสำราญพระทัยในการเล่นสกาเหนือสิ่งอื่นใด เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ชนะเสมอนั่น
เองการที่คู่เล่นต้องพ่ายแพ้ทุกครั้งทุกคราว ที่แท้ก็เป็นเพราะมีเทพธิดาองค์หนึ่งคอยช่วยกลับลูกสกาที่ทอดให้ได้แต้มดีทุกครั้งไป
เทพธิดา องค์นั้นเป็นเทพธิดาประจำพระองค์ มีหน้าที่คอยพิทักษ์และคุ้มครองพระราชาโกรพโดยที่พระองค์มิได้รู้ในข้อนี้ จึงคิดว่าตนนั้นมีพระปรีชาสามารถในสกาเหนือกว่าผู้ใด
ทุก ๆ วันอุโบสถ พระราชาโกรพจะต้องออกจากพระราชวังไปรักษาศีล และสนทนาธรรมกับสหายในชาติเดิมทั้ง ๓ ซึ่งในทั้ง ๓ภพนี้ก็คือพระอินทร์ พญานาค และพญาครุฑนั่นเอง
วันหนึ่งสหายทั้ง ๔ ได้สนทนาว่าการถือศีลของผู้ใดจะประเสริฐกว่ากัน
พญานาคกล่าวว่าตนมีธรรมชาติอันดุร้าย แต่สามารถข่มกลั้นโทสะได้เมื่อมาถือศีล
พญาครุฑกล่าวว่าตนต้องกินนาค แต่ก็สามารถอดกลั้นได้เมื่อมาถือศีล
พระอินทร์กล่าวว่าตนต้องสละความสุขทั้งปวงบนดาวดึงส์มาถือศีล จึงน่าจะประเสริฐที่สุด
พระราชาโกรพกล่าวว่าตนพิจารณาเห็นโทษของกามคุณ จึงออกมาถือศีล
ด้วยปรารถนาจะให้มีการชี้ขาดว่าผู้ใดประเสริฐกว่า จึงให้วิธูรบัณฑิตมาพิจารณาตัดสินวิธูรบัณฑิตฟังความทั้งสิ้นแล้วก็ทูลว่า
ศีลของท่านทั้ง ๔ ประเสริฐเสมอเหมือนกัน มิได้มียิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
พระสหายทั้ง ๔ ปลื้มปิตินัก จึงมอบของกำนัลบูชาราชบัณฑิตดังนี้.................................

พระอินทร์บูชาด้วยผ้าวิเศษทุกูลพัสตร์
พญานาคบูชาด้วยแก้ววิเศษ
พญาครุฑบูชาด้วยดอกไม้ทอง
พระราชาบูชาด้วยโคนม ๑๐๐๐ ตัว
ฝ่าย พญานาคนั้นเมื่อได้กลับไปยังเมืองบาดาล พระมเหสีวิมาลาเห็นแก้ววิเศษที่คล้องคอหายไปจึงไถ่ถาม ครั้นพอทราบความแล้วก็อยากฟังธรรมจากวิธูรบัณฑิตบ้าง แต่ท้าววิรุณนาคราชเห็นว่าคงมิสามารถนำตัววิธูบัณฑิตลงมายังเมืองบาดาลได้ พระมเหสีจึงแสร้งทำเป็นป่วยจนทรุดหนัก พระราชธิดาอิรันทตีจึงอาสาไปนำ{หัวใจ}วิธูบัณฑิตมาถวายพระมารดา
พระนางอิ รันทตีขึ้นมายังเมืองมนุษย์ในรูปโฉมของสตรีผู้งดงามพลางขับร้อง พรรณนาถึงสมบัติวิเศษและความงามของตน ซึ่งจะมอบให้แก่ผู้ที่น่าเอา{หัวใจ}ของวิธูบัณฑิตมาให้ตนได้สำเร็จ
ยักษ์ตนหนึ่งนามว่า{ปุณณกะ}เป็นผู้อาสากับพระราชธิดาแล้วปุณณกะก็ทำอุบายไปขอแข่งสกากับพระราชาโกรพ


เดิมพัน นั้นคือแก้ววิเศษกับม้าวิเศษ แลกกับราชสมบัติทั้งปวงเมื่อการเล่นสกาเริ่มขึ้น พระราชาโกรพก็ทอดลูกบาศก์ได้แต้มดีกว่าเสมอจนปุณณกะสงสัย จึงใช้ญาณวิเศษเล็งไปจึงเห็นว่ามีเทพธิดาคอยช่วยอยู่ยักษ์ปุณณกะจึงถลึงตา ขู่ เทพธิดาตกใจกลัวจึงหนีออกไปจาก ณ ที่นั้นทันทีเมื่อสิ้นเทพธิดาคอยช่วย ในที่สุดยักษ์ปุณณกะก็ได้ชัยในการเดิมพัน ครั้งนี้
แต่ทว่าปุณณกะทูลต่อพระเจ้าโกรพว่า เขามิต้องการราชสมบัติทั้งปวงของพระองค์ เขาต้องการตัวของวิธูรบัณฑิตเท่านั้น
พระ ราชาจึงว่า วิธูรเป็นราชบัณฑิตที่ตนนับถือ มิใช่เป็นสมบัติของพระองค์ที่จะยกให้แก่ผู้ใดได้ ปุณณกะจึงให้เชิญวิธูรมาตัดสินวิธูรบัณฑิตก็ตัดสินว่า ตนเองเป็นข้ารับใช้ของพระราชาเมื่อเป็นดังนั้น พระเจ้าโกรพจึงจำต้องยกวิธูรบัณฑิตให้กับปุณณวะที่ปลอมตัวเป็นมานพผู้หนึ่ง ไปตามประสงค์ โดยขอให้วิธูรแสดงธรรมอันไพเราะให้พระองค์ได้สดับฟังเป็นครั้งสุดท้าย
ตลอด ทางที่ปุณณกะได้ขี่ม้าเดินทางไปโดยได้ให้วิธูรบัณฑิตเกาะหางม้าและแกล้ง ขี่ม้าผาดโผนหวังให้วิธูรกระทบถูกภูเขาและต้นไม้เพื่อที่จะได้ตายไป และตนก็จะได้ควักหัวใจวิธูรไปให้พระนางอิรันทตีอย่างง่าย ดายแต่เมื่อเห็นวิธูรบัณฑิตยังรอดปลอดภัยดี ปุณณกะก็สำแดงอิทธิฤทธิ์ร่ายเวทเรียกลมกรดมา แต่ทว่าลมกรดก็พัดแยกออกให้วิธูรผ่านไปได้โดยมิเป็นอันตรายแม้สักน้อย

 พระอินทร์บูชาด้วยผ้าวิเศษทุกูลพัสตร์
พญานาคบูชาด้วยแก้ววิเศษ
พญาครุฑบูชาด้วยดอกไม้ทอง
พระราชาบูชาด้วยโคนม ๑๐๐๐ ตัว
ฝ่าย พญานาคนั้นเมื่อได้กลับไปยังเมืองบาดาล พระมเหสีวิมาลาเห็นแก้ววิเศษที่คล้องคอหายไปจึงไถ่ถาม ครั้นพอทราบความแล้วก็อยากฟังธรรมจากวิธูรบัณฑิตบ้าง แต่ท้าววิรุณนาคราชเห็นว่าคงมิสามารถนำตัววิธูบัณฑิตลงมายังเมืองบาดาลได้ พระมเหสีจึงแสร้งทำเป็นป่วยจนทรุดหนัก พระราชธิดาอิรันทตีจึงอาสาไปนำ{หัวใจ}วิธูบัณฑิตมาถวายพระมารดา
พระนางอิ รันทตีขึ้นมายังเมืองมนุษย์ในรูปโฉมของสตรีผู้งดงามพลางขับร้อง พรรณนาถึงสมบัติวิเศษและความงามของตน ซึ่งจะมอบให้แก่ผู้ที่น่าเอา{หัวใจ}ของวิธูบัณฑิตมาให้ตนได้สำเร็จ
ยักษ์ตนหนึ่งนามว่า{ปุณณกะ}เป็นผู้อาสากับพระราชธิดาแล้วปุณณกะก็ทำอุบายไปขอแข่งสกากับพระราชาโกรพ


เดิมพัน นั้นคือแก้ววิเศษกับม้าวิเศษ แลกกับราชสมบัติทั้งปวงเมื่อการเล่นสกาเริ่มขึ้น พระราชาโกรพก็ทอดลูกบาศก์ได้แต้มดีกว่าเสมอจนปุณณกะสงสัย จึงใช้ญาณวิเศษเล็งไปจึงเห็นว่ามีเทพธิดาคอยช่วยอยู่ยักษ์ปุณณกะจึงถลึงตา ขู่ เทพธิดาตกใจกลัวจึงหนีออกไปจาก ณ ที่นั้นทันทีเมื่อสิ้นเทพธิดาคอยช่วย ในที่สุดยักษ์ปุณณกะก็ได้ชัยในการเดิมพัน ครั้งนี้
แต่ทว่าปุณณกะทูลต่อพระเจ้าโกรพว่า เขามิต้องการราชสมบัติทั้งปวงของพระองค์ เขาต้องการตัวของวิธูรบัณฑิตเท่านั้น
พระ ราชาจึงว่า วิธูรเป็นราชบัณฑิตที่ตนนับถือ มิใช่เป็นสมบัติของพระองค์ที่จะยกให้แก่ผู้ใดได้ ปุณณกะจึงให้เชิญวิธูรมาตัดสินวิธูรบัณฑิตก็ตัดสินว่า ตนเองเป็นข้ารับใช้ของพระราชาเมื่อเป็นดังนั้น พระเจ้าโกรพจึงจำต้องยกวิธูรบัณฑิตให้กับปุณณวะที่ปลอมตัวเป็นมานพผู้หนึ่ง ไปตามประสงค์ โดยขอให้วิธูรแสดงธรรมอันไพเราะให้พระองค์ได้สดับฟังเป็นครั้งสุดท้าย
ตลอด ทางที่ปุณณกะได้ขี่ม้าเดินทางไปโดยได้ให้วิธูรบัณฑิตเกาะหางม้าและแกล้ง ขี่ม้าผาดโผนหวังให้วิธูรกระทบถูกภูเขาและต้นไม้เพื่อที่จะได้ตายไป และตนก็จะได้ควักหัวใจวิธูรไปให้พระนางอิรันทตีอย่างง่าย ดายแต่เมื่อเห็นวิธูรบัณฑิตยังรอดปลอดภัยดี ปุณณกะก็สำแดงอิทธิฤทธิ์ร่ายเวทเรียกลมกรดมา แต่ทว่าลมกรดก็พัดแยกออกให้วิธูรผ่านไปได้โดยมิเป็นอันตรายแม้สักน้อย

มิว่าจะจำแลงแปลงร่างมาทำอันตรายใด ๆ ปุณณกะก็มิอาจสามารถทำร้ายวิธูรบัณฑิตได้ ด้วยเพราะอำนาจบารมีแห่งศีลแห่งสัตย์ปกป้องรักษาอยู่อย่างมั่นคง
วิธูรบัณฑิตถามปุณณกะถึงเหตุที่พยายามเอาชีวิตของตน ปุณณกะจึงเล่าความทั้งหมดให้ฟังตามจริง
วิธู รบัณฑิตจึงเข้าใจได้ว่า การที่พระมเหสีของพญานาคบอกว่าต้องการหัวใจของตนนั้นหมายถึง ต้องการฟังธรรมจากตน เพราะธรรมคือหัวใจของนักปราชญ์ราชบัณฑิต มิได้ต้องการฆ่าตนเพื่อเอาหัวใจ แต่อย่างใด


วิธูรบัณฑิตจึงได้แสดงโอวาท แก่ปุณณกะจนกระทั่งปุณณกะสำนึกได้ว่าตนหลงผิด เพียงเพราะลุ่มหลงในมายาสตรี เมื่อซาบซึ้งในธรรมอันไพเราะแล้ว ปุณณกะจึงคิดเลิกเอาชีวิตวิธูรบัณฑิตอีกต่อไปเมื่อวิธูรบัณฑิตลงไปยังเมือง พญานาคก็ได้แสดงธรรมแก่ท้าว
วิรุณนาคราชและพระมเหสีทั้งสองผู้เป็นใหญ่ใน เมืองบาดาลบังเกิดความซาบซึ้งในธรรมและเลื่อมใสใน ตัววิธูรบัณฑิตเป็นยิ่งนัก ก็ได้กล่าวยกย่องสรรเสริญและให้ปุณณกะนำตัววิธูบัณฑิตขึ้นไปส่งยังราชสำนัก และได้ประทานราชธิดาอิรันทตีแก่ปุณณกะด้วย
พระราชโกรพปิติยินดีเป็นยิ่ง นัก ทรงโปรดให้จัดงานฉลองรับขวัญวิธูรบัณฑิตนาน ๑ เดือนเต็ม พร้อมทั้งทรงบำเพ็ญกุศลบริจาคทานเป็นการใหญ่ด้วยระลึกได้ว่า การเล่นพนันอย่างลุ่มหลงของพระองค์แท้ๆ เทียวที่ทำให้ต้องสูญเสียราชบัณฑิตผู้เป็นดั่งแก้วแห่งบัลลังก์ไปอย่างน่า เสียดายธรรมนั้นได้ช่วยให้วิธูรบัณฑิตรอดพ้นจากความตาย และยังทำให้มีแต่ผู้ศรัทธาเลื่อมใสในทุกแห่งหน


..............จบชาติที่๙ วิธูรบัณฑิตจุติสังสารวัฏฏ์...............

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น