วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำสอนของอาจารย์เปิดดวงตา





บทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ถูกเขียนในเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่ 9 แห่งสมัยบุนเออิ ค.ศ. 1272 ที่กระท่อมซัมไมโด ทุ่งสึคาฮาระ บนเกาะซาโดะ เมื่อพระนิชิเร็น ไดโชนินอายุ 51 ปี แม้ว่าบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้เขียนถึงชิโจ คิงโงะ โยริโมโตะแต่แท้ที่จริงแล้ว ธรรมนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งไปที่ผู้ติดตามพระนิชิเร็นไดโชนินทุกคนบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้มี 2 ส่วน และพระนิชิเร็น ไดโชนิน ได้ตั้งชื่อบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ว่าบทธรรมนิพนธ์ [เปิดดวงตา] ในชื่อคือการกล่าวถึง

การเปิดตาบอดของผู้ที่ไม่มีปัญญาเกี่ยวกับศาสนาพุทธแท้ในขณะที่บทธรรมนิพนธ์สิ่ง [สักการะแท้] เปิดเผยสิ่งสักการะในแง่ของธรรมะ บทธรรมนิพนธ์ [เปิดดวงตา]นี้ เปิดเผยสิ่งสักการะในแง่ของบุคคล นี่คือบทธรรมนิพนธ์สำคัญอย่างยิ่งที่ถูกจัดอยู่ใน 5 บทธรรมนิพนธ์สำคัญของพระนิชิเร็น ไดโชนินในส่วนแรกของบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินใช้การเปรียบเทียบ 5 ระดับเพื่อเปิดเผยความแตกต่าง ความเหนือกว่ากับความด้อยกว่า และความผิวเผินกับความลึกซึ้งระหว่างคำสอนที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธกับคำสอนตลอดพระชนม์ชีพของ [พระศากยมุนีพุทธะ] ในส่วนที่2พระนิชิเร็นไดโชนินเปิดเผยว่าท่านคือ พระพุทธะที่มีคุณธรรม 3 ประการแห่งเจ้านาย อาจารย์และบิดามารดา ข้อความที่

หยิบยกมาซึ่งพวกเราให้ความสนใจในวันนี้อยู่ในตอนท้าย ๆ ของส่วนที่ 2 พระนิชิเร็นไดโชนินนำเสนอการเผยแผ่ 2 วิธี โชจุและชะคุบุขุ ต่อมาท่านสอนพวกเราว่าในสมัยปัจฉิมธรรม เมื่อมีคนมากมายที่มีความเห็นนอกรีตและดูหมิ่นธรรมะ วิธีเหมาะสมเพื่อการเผยแผ่ธรรมะคือชะคุบุขุ การหักล้างความเชื่อนอกรีตและการเปิดเผยความจริงการชะคุบุขุ

ในสมัยปัจฉิมธรรมโชจุและชะคุบุขุ คือ 2 วิธีซึ่งพระพุทธะนำผู้คน โชจุคือวิธีการสอนที่ถึงแม้ว่าผู้คนมีความเชื่อไม่ถูกต้องพระพุทธะจะยอมรับความคิดที่ผิดของพวกเขาเป็นการชั่วคราวและค่อย ๆ แก้ไขพวกเขาและนำพวกเขาไปสู่ธรรมะแท้ ในทางตรงข้าม ชะคุบุขุคือวิธีซึ่งไม่อาจทนต่อความเชื่อนอกรีต พระพุทธะชี้ให้เห็นความคิดที่ผิดทันทีและนำผู้คนไปสู่ศาสนาพุทธแท้ในบทธรรมนิพนธ์ จดหมายจากซาโดะ พระนิชิเร็นไดโชนินอธิบายว่าวิธีที่นำผู้คนไปสู่ศาสนาพุทธจะต่างกันตามกาลเวลาในศาสนาพุทธจะเลือก [โชจุหรือชะคุบุขุ] ขึ้นอยู่กับเวลา

เรื่องราวในพุทธศาสนาที่มีปรากฏอยู่ในอภิธรรมโกษศาสตร์ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพราหมณ์ที่มาขอดวงตาในอดีตชาติ พระสารีบุตร ลูกศิษย์ของพระศากยมุนีพุทธะที่มีชื่อเสียงว่าเลิศทางปัญญา กำลังปฏิบัติโพธิสัตว์มรรคของการให้ทาน เมื่อพราหมณ์ปรากฏขึ้นมาและขอดวงตาข้างหนึ่งของเขา พระสารีบุตรตอบสนองโดยควักดวงตาให้แก่พราหมณ์

แทนที่พราหมณ์จะขอบคุณเขา แต่กลับประกาศว่า ดวงตามีกลิ่นเหม็น จึงขว้างทิ้งลงบนพื้นและเหยียบขยี้ พระสารีบุตรตกตะลึง เขาตัดสินใจที่จะไม่ช่วยบุคคลดังกล่าว และเขาก็เลิกการปฏิบัติของโพธิสัตว์ เป็นธรรมดาที่จะรู้สึกว่า ความเพียรพยายามของเรามีค่า และถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้น เมื่อเป็นที่รับรู้และชมเชยของผู้คนรอบตัวเราความรับผิดชอบส่วนหนึ่งของผู้นำ คือ การรับรู้ การกล่าวถึง และให้กำลังใจ ผู้ซึ่งเพียรพยายามอย่างอุทิศตนและกระตือรือร้น


อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่ได้รับการชมเชยหรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง สิ่งสำคัญคือ เราต้องไม่เกิดความไม่พอใจผู้นำหรือสมาชิกคนอื่น หรือสูญเสียความกระตือรือร้น นั่นมีแต่จะลบบุญกุศลและบุญวาสนาของเรา และเป็นเหตุให้เราหยุดการเจริญเติบโต....ข้อความจาก Sgi Organization

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น